เทคนิค / วิธีการระบายสีน้ำ
เปียกบนเปียก
การระบายสีแบบเปียกบนเปียก หมายถึง การระบายน้ำลงบนกระดาษก่อนแล้วจึงระบายสีตามที่ต้องการลงไป การระบายแบบเปียกบนเปียกนี้ จะช่วยให้ท่านระบายสีติดบนกระดาษทุกส่วน เพราะกระดาษบางชนิดระบายสีติดยาก เนื่องจากมีความมันหรือความหยาบขรุขระ
การระบายแบบเปียกบนเปียก มีประโยชน์มากเมื่อจะระบายท้องฟ้า หรือผิววัตถุที่มีมัน เพราะจะให้ความรู้สึกกลมกลืนของสีเด่นชัด เทคนิคของการระบายแบบเปียกบนเปียกที่สำคัญมี 2 ประการ คือ
***** การไหลซึม *****
|
|
|
|
|
|
--- วิธีระบายเทคนิคการไหลซึม
|
1. เตรียมกระดาษที่ขึงบนกระดานรองเขียน สี น้ำ พู่กัน และผ้าเช็ดไว้ให้พร้อม
2. วางกระดานรองเขียนให้ทำมุมกับพื้น 15 องศา แล้วใช้พู่กันขนาดใหญ่ จุ่มน้ำระบายบนกระดาษวาดเขียน จากนั้นจึงใช้พู่กันจุ่มสี แล้วระบายลงไป ขณะที่กระดาษยังเปียกน้ำอยู่ เมื่อระบายสีแรกจนพอใจแล้ว ล้างพู่กัน จุ่มสีอื่นระบายใกล้กับสีแรกเปลี่ยนสีอื่นและระบายอย่างเดียวกัน ประมาณ 4 – 5 สี
3. ขณะที่ระบายควรสังเกตดูการไหลซึมของสีที่ระบายนั้น จะพบว่าบางสีมีลักษณะรุกรานสีอื่น และบางสีก็ไม่รุกรานสีอื่น ควรจดจำสีที่รุกรานและไม่รุกรานไว้
4. ลองระบายตามวิธีนี้อีก แต่คราวนี้กำหนดให้แน่ว่าจะใช้กลุ่มสีอุ่น หรือกลุ่มสีเย็น (Cool or Warm Tone ) แล้วสังเกตความไหลซึมของสี
|
|
|
|
|
--- การประเมินผลการทดลองการไหลซึม
|
1.ภาพระบายสีน้ำแสดงความชุ่ม ความซึมของสีแต่ละสีหรือไม่
2.เมื่อระบายเสร็จ ท้ำงให้แห้งแล้วเกิดมีคราบสีหรือไม่
3.ในกระดาษที่ระบายสีอุ่นหรือสีเย็นแต่ละประเภท สังเกตเห็นว่ามีความรู้สึกอุ่น หรือเย็นหรือไม่อย่างไร
4.เทคนิคการไหลซึมอาจจะนำไปใช้ระบายวัตถุอะไรได้บ้าง
***** การไหลย้อย *****
|
|
|
|
|
|
--- วิธีระบายเทคนิคการไหลย้อย
|
1. เตรียมกระดาษที่ขึงบนกระดานรองเขียน สี น้ำ พู่กัน และผ้าเช็ดไว้ให้พร้อม
2. วางกระดานรองเขียนให้ทำมุม 15 องศากับพื้น แล้วใช้พู่กันขนาดใหญ่ระบายน้ำบนกระดาษวาดเขียน ควรระบายให้ทั่วกระดาษ จากนั้นให้ใช้สีที่มีน้ำหนักแก่ระบายจากซ้ายไปขวาติ่ไปเรื่อยๆ จนเกือบทั่วแผ่นกระดาษ
3. ปรับความเอียงของกระดานรองเขียนให้ทำมุมกับพื้น 85 องศา แล้วใช้พู่กันจุ่มสีอ่อนระบายบนสุดของกระดาษ พยายามให้พู่กันมีสีและน้ำมากๆ เมื่อระบายแล้ว สังเกตดูว่าสีไหลย้อยทันทีหรือไม่
4. ถ้าสีอ่อนที่ระบายทับทีหลังไม่อ่อนเท่าที่ควร ก็ให้ระบายด้วยน้ำเปล่าแทน
5. ลองระบายสลับกันโดยระบายสีอ่อนในชิ้นแรก เมื่อกระดานเอียง 15 องศา แล้วระบาย
สีแก่ เมื่อกระดานเอียง 85 องศากับพื้นสังเกตดูความแตกต่าง
|
--- การประเมินผลการทดลองการไหลย้อย
|
1.ภาพแสดงสีน้ำแสดงความชุ่ม ความไหลย้อยของสีอ่อนหรือสีแก่
2.ปริมาณของน้ำและสี พอดีกับบริเวณว่างที่ระบายหรือไม่
3.เมื่อกลับหัวดูให้ความรู้สึกเหมือนกันหรือต่างกันกับตอนที่ระบายหรือไม่
4.เทคนิคการไหลย้อยนี้สามารถนำไปถ่ายทอดธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอะไรได้บ้าง
จะเอาไปใช้ถ่ายทอดน้ำตกได้หรือไม่
...............................................................................................................................
เปียกบนแห้ง
การระบายแบบเปียกบนแห้ง หมายถึง การระบายสีบนกระดาษที่ไม่ต้องลงน้ำก่อน คำว่าเปียก คือ พู่กันกับสี ส่วนแห้ง คือ แผ่นกระดาษ การระบายแบบเปียกบนแห้ง เป็นวิธีระบายทั่วไป ซึ่งมีเทคนิคที่สำคัญอยู่ 3 ประการ คือ
1. ***** การระบายเรียบสีเดียว *****
|
|
|
|
|
--- วิธีการระบายเรียบสีเดียว
เตรียมกระดาษที่ขึงบนกระดานรองเขียน สี น้ำ พู่กัน และผ้าเช็ดไว้ให้พร้อม
วางกระดานรองเขียนให้ทำมุมกับพื้นที่ 15องศา แล้วใช้พู่กันจุ่มสีที่ต้องการระบายผสมกับน้ำ กะให้พอกับบริเวณว่างที่ต้องการระบายประมาณ 3” x 6” พยายามผสมสีให้เข้ากับน้ำ แล้วจึงระบายยนพื้นที่ 3” x 6” นั้น
|
|
|
ขณะระบายให้ระบายช้าๆ โดยเริ่มจากทางด้านซ้ายมือมาทางขวามือ คล้ายกับการเขียนหนังสือ ระบายตามแนวนอน และให้มีน้ำกองอยู่บนกระดาษมากๆ เพื่อที่จะได้ระบายต่อไปสะดวก ระบายต่อกัน จนทั่วบริเวณรองรับขนาด 3”x 6”
ขณะระบายอย่าเอาพู่กันที่จุ่มสีแล้วไปจุ่มน้ำเป็นอันขาด เพราะจะทำให้น้ำหนักที่ผสมไว้แล้วอ่อนลง จงใช้เฉพาะพู่กันจุ่มสีที่ผสมสีไว้แล้วเท่านั้นระบายติดต่อกัน
--- การประเมินผลการทดลองการระบายเรียบสีเดียว
|
1.ภาพที่ระบายมีสีเรียบ น้ำหนักเท่ากันทั้งบริเวณ 3” x 6” หรือไม่
2.ขณะที่ระบายสีน้ำบนกระดาษเฉลี่ยเท่าๆกันหรือไม่ และสีน้ำไหลลงมาเป็นแนวดิ่งหรือไม่
3.สีน้ำที่ระบายนอกจากจะแสดงความเรียบแล้ว แสดงลักษณะโปร่งใส อันเป็นคุณสมบัติของสีน้ำหรือไม่
4.การระบายสีเดียว สามารถนำไปใช้ถ่ายทอดธรรมชาติ หรือวัตถุต่างๆอะไรได้บ้าง
|
2. ***** การระบายอ่อนแก่เรียบสีเดียว *****
--- วิธีการระบายอ่อนแก่เรียบสีเดียว
เตรียมกระดาษที่ขึงบนกระดานรองเขียน สี น้ำ พู่กัน และผ้าเช็ดไว้ให้พร้อม
วางกระดานรองเขียนทำมุม 15 องศา กับพื้น แล้วระบายแบบเรียบสีเดียว โดยให้มีน้ำหนักอ่อนแก่ เมื่อระบายไปได้พื้นที่จำนวนหนึ่งแล้ว ผสมสีให้แก่ แล้ว ระบายต่อ
ระบายน้ำหนักแก่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้ความแตกต่างหลายๆน้ำหนัก
ระบายสีแก่ก่อน แล้วผสมสีให้อ่อนระบายต่อตามวิธีระบายเรียบ โดยให้เห็นน้ำหนักของสีจากแก่มาหาอ่อน
--- การประเมินผลการระบายอ่อนแก่เรียบสีเดียว
|
1.ภาพที่ระบายตามวิธีนี้ แสดงให้เห็นความกลมกลืนของน้ำหนักอ่อนแก่ของสีหรือไม่
2.ภาพที่ระบายแสดงคุณสมบัติของสีน้ำ คือความโปร่งใสหรือไม่
3.การระบายสีเรียบอ่อนแก่นี้ สามารถนำไปใช้ระบายะรรมชาติ หรือสิ่งแวดล้อมอะไรได้บ้าง
4.ถ้าจะลองสร้างภาพเหลี่ยมง่ายๆ แล้วระบายสีตามวิธีการนี้ ท่านคิดว่าจะมีปัญหาอะไร เกิดขึ้นบ้าง
3. ***** การระบายเรียบหลายสี *****
--- วิธีการระบายเรียบหลายสี
|
1. เตรียมกระดาษที่ขึงบนกระดานรองเขียน สี น้ำ พู่กัน และผ้าเช็ดไว้ให้พร้อม
2. เตรียมกระดาษที่ขึงบนกระดานรองเขียน สี น้ำ พู่กัน และอุปกรณ์ที่จำเป็นไว้ให้พร้อม
3. วางกระดานรองเขียนให้ทำมุมกับพื้น 15 องศา แล้วใช้พู่กันจุ่มสี ผสมสีให้พอกับบริเวณที่ว่างที่จะระบาย แล้วระบายบนบริเวณกระดาษที่ต้องการ
4. ผสมสีอื่นระบายต่อจากสีที่ระบายแล้วครั้งแรก พยายามระบายให้ต่อเนื่องกัน
5.ผสมสีอื่นๆ อีกแล้วระบายต่อ อาจจะระบายเป็นกลุ่มสีอุ่นหรือกลุ่มสีเย็น พยายาม ระบายให้มีเนื้อที่ของสีต่างๆ ล้วพิจารณาดูความกลมกลืนและการไหลของแต่และสีด้วย
|
--- การประเมินผลการระบายเรียบหลายสี
|
1.สีที่ละบายแต่ละสีนั้นเมื่อซึมเข้าหากันแล้วเกิดเป็นสีใหม่หรือไม่
2.สีที่ระบายสีมีลักษณะโปร่งใส ลักษณะเรียบตามที่ต้องการหรือไม่ และสีใดที่รู้สึกว่าหม่นลง หรือแสดงว่าไม่สดใส
3.การระบายสีแบบนี้ สามารถนำไปใช้ในการถ่ายทอดรูปแบบธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอะไร ที่คาดว่าเหมาะสมที่สุด
4.ท่านจงสังเกตดูว่า สีที่ระบายสีใดที่ท่านชอบและระบายง่ายที่สุด
การระบายสีแบบเปียกบนแห้ง ทั้ง 3 วิธีดังที่เสนอแนะมานี้ ถือเป็นเทคนิคพื้นฐานที่ผู้สนใจสีน้ำทั้งหลายจะต้องระบายให้ได้ก่อน จากนั้นก็สามารถพลิกแพลง ผสมผสานกับการระบายแบบอื่นๆได้
|
|
|